โดยทั่วไปแล้วเพลงกล่อมเด็กจะมีลักษณะที่คล้ายๆกันคือ
๑. เป็นเพลงที่รับช่วงต่อๆกันมา อาศัยการบอกกล่าว ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร จดเป็นมุขปาฐะหรือถ่ายทอดด้วยปาก
๒. ใช้ภาษาง่ายๆ มีคำสัมผัสคล้องจองกันตลอด ทำให้ง่ายต่อการจดจำและขับร้องกล่อมได้ไพเราะ จึงจัดเป็นประเภทเพลงชาวบ้าน รวมรวบคติและความเชื่อของชาวบ้าน
๓. บทร้องมักจะสั้นยิ่งถ้าผู้รับการถ่ายทอดจดจำไม่ได้ เนื้อความก็จะขาดหายไปเพลงจะเหลือเท่าที่จำได้แต่ถ้าผู้รับการถ่ายทอดมีความสามารถ ก็อาจประดิษฐ์บทร้องให้ยาวขึ้น หรือสละสลวยขึ้นได้
๔. ไม่สามารถทราบได้ว่าใครเป็นผู้แต่ง เพราะอาศัยการสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน
๕. จึงไม่สามารถทราบอายุ หรือเวลาที่แต่งเพลงกล่อมเด็กได้
๖. เพลงเดียวกันอาจผิดเพี้ยนกันไปบ้าง จากสำนวนภาษาของแต่ละถิ่น การจดจำ ปฏิภาณ ความเข้าใจของผู้กล่อมเด็ก บางครั้งเพลงเดียวกัน คนกล่อมคนเดียวกัน ให้ร้องกล่อม 2 ครั้ง ก็อาจกล่อมไม่เหมือนกัน บางครั้งถ้าผู้กล่อมไม่เข้าใจคำศัพท์ในเนื้อเพลง ก็อาจเปลี่ยนคำใหม่ เพื่อให้เข้าใจความหมาย จึงทำให้เนื้อเพลงผิดเพี้ยนกันไป